ปปส.ภ.2 เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) จังหวัดชลบุรี

เมื่อวันที่ : 26 มี.ค. 2568 13:42
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2
13 ครั้ง

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 น. ปปส.ภ.2 เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) จังหวัดชลบุรี โดยมีนายพงศ์ธสิษฐ์ ปิจนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษารวม 31 หน่วย ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สรุปสาระการประชุม ดังนี้

1. ชี้แจงนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่สำคัญในปี 2568 - 2569 โดยมีนโยบายการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา (Zero Drop out) เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญ และคำสั่งจังหวัดชลบุรีที่ 997/2568 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์
2. ข้อมูลจากระบบ OBEC Zero Dropout ของ ศธ. สรุปผลการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาจังหวัดชลบุรีในสังกัด สปพ.เขต 1-3 สพม.ชลบุรี-ระยอง สนง.อาขีวศึกษาจังหวัดชลบุรี และ สกร.ชลบุรี มีจำนวนเด็กตกหล่น (ไม่เข้าสู่ระบบการศึกษา) และเด็กออกจากการศึกษากลางคัน อายุระหว่าง 6 - 18 ปี รวมทั้งสิ้น 43,965 คน 
  2.1 เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนมากพบในพื้นที่ อ.บางละมุง
  2.2 พบตัว 6,977 คน คิดเป็นร้อยละ 15.87
  2.3 ไม่พบตัว 35,988 คิดเป็นร้อยละ 81.86
  2.4 พบตัวและกลับเข้าระบบการศึกษา 1,774 คน คิดเป็นร้อยละ 4.04
  2.5 พบตัวแต่ไม่กลับเข้าระบบการศึกษา 3,904 คน คิดเป็นร้อยละ 8.88
3. สาเหตุที่เยาวชนไม่กลับเข้าระบบการศึกษา ส่วนมากต้องการทำงานเพื่อหารายได้ และย้ายถิ่นฐานตามผู้ปกครอง
4. ข้อมูลจากระบบ OBEC Care ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำรวจเด็กนอกระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชลบุรี อายุระหว่าง 3 - 18 ปี มีจำนวน 367,686 คน ส่วนมากพบในพื้นที่ อ.เมืองชลบุรี และ อ.ศรีราชา
5. ข้อเสนอของหน่วยงาน,
  5.1 ผลักดันให้วัดเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนด้านการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม
  5.2 เสนอ 5 มาตรการในการจัดการปัญหา ได้แก่ การป้องกัน การค้นหา การติดตาม/ช่วยเหลือ/ส่งต่อ การให้การศึกษา (Credit Bank) และการให้อาชีพโดยร่วมมือกับสถานประกอบการ
  5.3 ควรพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้ยืดหยุ่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเยาวชนและสอดรับกับบริบทในพื้นที่
6. ข้อสั่งการประธาน
  6.1 มอบฝ่ายเลขาฯ (ศธ.จว.) ส่งข้อมูลเยาวชนที่ยังไม่พบตัวให้ฝ่ายปกครองทุกอำเภอช่วยติดตาม สำรวจ คุณภาพชีวิต และการขอรับความช่วยเหลือ
  6.2 มอบ ศธ.จว. แจ้งไปยัง ศธ. ประสานขอความร่วมมือสำนักพุทธศาสนาเพื่อใช้วัดเป็นสถานที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนนอกระบบ
7. ข้อค้นพบ
   7.1 ควรให้ สพป. ประสานเชื่อมโยงข้อมูลการดำเนินงานเยาวชนนอกระบบการศึกษากับระบบ OBEC Zero Dropout ของ ศธ. และระบบ OBEC Care ของ กสศ. เพื่อใช้กำหนดเป้าหมายเยาวชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง
  7.2 ย้งไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น สถานศึกษาในสังกัด อปท. สถานศึกษาเอกชน รวมถึงเยาวชนในสถานพินิจฯ และศูนย์ฝึกอบรมฯ
  7.3 ข้อมูลจากระบบ OBEC Care ของ กสศ. สามารถนำไปต่อยอดแก้ไขปัญหากับกลุ่มเยาวชนนอกระบบอายุระหว่าง 3 – 5 ปี ในระดับปฐมวัย ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาในกลุ่มเยาวชนนอกระบบครอบคลุมทุกช่วงอายุ

YouTube Line search download
Q&A FAQ