ปปส.ภ.2 พร้อมด้วย สสจ.ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านบำบัดบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดและติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ โด

เมื่อวันที่ : 21 มี.ค. 2568 09:00
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 2
15 ครั้ง

ันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 น. ปปส.ภ.2 พร้อมด้วย สสจ.ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านบำบัดบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดและติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ โดยมี นพ.ปิยะวิทย์ หมดมลทิน ผอ.โรงพยาบาลเกาะจันทร์ ให้การต้อนรับและสรุปผลการดำเนินงาน ณ โรงพยาบาลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สรุปผลการดำเนินงานบำบัดของ รพ.เกาะจันทร์ ปี 2568 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ม.ค. 68) มีผู้เข้าบำบัดรวม 13 คน จำแนกเป็นผู้เสพผู้ติด 9 คน และผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติด 4 คน
2. ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติด จะมีจิตแพทย์จาก รพ.ชลบุรี เป็นที่ปรึกษา กรณี refer ผู้ป่วยจะส่งต่อไปยัง รพ.ชลบุรี และ รพ.สมเด็จเจ้าพระยา ตามลำดับ หรือส่งไปยัง รพ.จิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ ในบางรายที่ญาติมีความประสงค์
3. ความคืบหน้าการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์
  3.1 ด้านอาคารสถานที่ อยู่ระหว่างปรับปรุงอาคารผู้ป่วยในหลังเก่า มีความคืบหน้าประมาณร้อยละ 80 โดยได้รับงบสนับสนุนจากกองทุน ป.ป.ส. เป็นเงิน 1 ล้านบาท ในการปรับปรุงหอพักผู้ป่วย และจัดซื้อครุภัณฑ์ (เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ กล้องวงจรปิด อุปกรณ์สำนักงาน และชุดอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน) ซึ่งวัสดุบางรายการสามารถจัดซื้อได้ในราคาต่ำกว่าที่เสนอขอ 
  3.2 ด้านบุคลากร ได้ส่งเจ้าหน้าที่ 5 คน เข้ารับอบรมตามหลักสูตรที่ สบยช. เป็นเวลา 5 วัน และมีแผนจ้างทหารจาก บชร.ที่ 1 มาเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่
  3.3 สามารถเปิดให้บริการในช่วงเดือนพฤษภาคม 2568 ในระยะแรกจะรับผู้ป่วย 5 คน และจะขยายเพิ่มเติมเป็น 15 คน และ 30 คน ตามลำดับ
4. ข้อค้นพบ
  4.1 มินิธัญญารักษ์ รพ.เกาะจันทร์ ถือว่าเป็นมินิธัญญารักษ์ที่มีความพร้อมของอาคารผู้ป่วยที่มีพื้นที่กว้างขวาง สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากถึง 30 คน หากเปิดใช้บริการเต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งเบาภาระความแออัดใน รพ.ชลบุรี รพ.พัทยาปัทมคุณ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และมินิธัญญารักษ์ รพ.หนองใหญ่
  4.2 สสจ.ชลบุรี มีแผนบรรจุจิตแพทย์ใน รพ.ชุมชน โดยเริ่มที่ รพ.พนัสนิคม เป็นแห่งแรก
  4.3 เจ้าหน้าที่ รพ.เกาะจ้นทร์ เห็นด้วยกับการผลักดันให้เกิดการเข้ารับการบำบัดแบบ walk in ของผู้ป่วยในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพฯ (ไม่รับเป็นรุ่น) เพราะมีประสิทธิภาพในการบำบัดฟื้นฟูมากกว่า แต่ต้องมีการพัฒนาทั้งหลักสูตร การหมุนเวียนของวิทยากร และการบริหารจัดการงบประมาณ
  4.4 พบการจัดโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (ค่าย 15 วัน) ในปี 2567 ของฝ่ายปกครอง ซึ่งสถานที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานบำบัดจาก สลบ. อาจมีปัญหาหากมีการร้องเรียน
  4.5 ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดในพื้นที่ ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่ให้ความร่วมมือกับญาติขณะรักษาตัวที่บ้านโดยไม่กินยา เสพซ้ำ และไม่พบแพทย์ตามนัด ส่งผลให้มีอาการรุนแรง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายปกครองเป็นกำลังสำคัญในการติดตามดูแลและการให้ความสำคัญของผู้บริหาร (นายอำเภอ) อย่างเช่นกรณี อ.พานทอง นายอำเภอได้สั่งการชัดเจนให้ฝ่ายปกครองดำเนินการและมีการกำกับติตตามอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไม่มีผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดในระดับสีแดงในพื้นที่

YouTube Line search download
Q&A FAQ